วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พล่าปลาสายรุ้ง

พล่าปลาสายรุ้ง
ส่วนผสมพล่าปลาสายรุ้งปลาสายรุ้ง ขอดเกล็ดหั่น
เป็นชิ้นบางๆลวกพอสุก 300 กรัม
หอมแดงซอย 1/2 ถ้วยตวง
ตะไคร้ซอยบางๆ 1/4 ถ้วยตวง
ขิงอ่อนซอยฝอย 1/4 ถ้วยตวง
ใบมะกรูดหั่นฝอย 5 ใบ
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ด
ผักชีเด็ดเป็นใบๆ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
นำ้มะขามเปียกคั้นแล้ว 1/2 ถ้วยตวง
น้ำปลาดี 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
ผักที่ใช้รับประทาน เช่น มะเขิอ แตงกวา ต้นหอม ผักชี



วิธีทำอาหาร
พล่าปลาสายรุ้ง1.ผสมน้ำมะชามเปียก น้ำปลาดี น้ำตาลทราย ตั้งไฟพอเดือด ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ชิมรสจัด เปรี้ยว เค็ม หวาน ให้รสกลมกล่อม 2.ผสมปลาสายรุ้ง หอมแดง ตะไค้ ขิงอ่อน ใบมะกรูด คลุกกับน้ำปรุงให้เบามือ เคล้าให้เข้ากัน จัดใส่จาน โรยด้วย ใบมะกรูดซอย พริกชี้ฟ้าแดงซอย พริกขี้หนู ผักชี
แต่งให้สวยงาม รับประทานกับผักสดต่างๆ

ปลาใบปอนึ่งเกื้ยมฉ่าย

ปลาใบปอนึ่งเกี้่้ยมฉ่าย
ส่วนผสมปลาใบปอนึ่งเกี้่้ยมฉ่าย
ปลาใบปอควักไส้ออกล้างสะอาด 1 ตัว
เกี้ียมฉ่ายล้างสะอาดหั่น
เ็ป็นท่อนๆ 1 ถ้วยตวง
เห็ดหอมแช่น้ำแล้วหั่น
เป็นชิ้นๆ 1/4 ถ้วยตวง
น้ำซุป 1/2 ถ้วยตวง
ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 2 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
ต้นหอมหั่นเป็นท่อนๆ 1 ต้น
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย 1 เม็ด
น้ำมันหอน 1 ช้อนโต๊ะ




 
ปลาใบปอนึ่งเกี๊ยมฉ่าย

วิธีทำอาหาร ปลาใบปอนึ่งเกี้่้ยมฉ่ายนำเกี้ยมฉ่ายวางที่จาน นำปลาใบปอ วางบนเกี้ยมฉ่ายใส่น้ำซุป เห็ดหอม ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรสพริกไหยป่น น้ำตาลทราย น้ำมันหอย ทาให้ทั่วตัวปลาวางต้นหอม
พริกชี้ฟ้าแดง บนตัวปลาใบปอจากนั้นนำไปนึ่งประมาณ 15-20 นาที
หรือจนกว่าปลาจะสุก จึงยกลงจัดใส่จานให้สวยงามรับประทานร้อนๆ

เมนูไข่

เมนูไข่ต่างๆ เมนูไข่ตุ๋น

เมนูไข่พะโล้หมูสามชั้น
ส่วนผสมเมนูไขหมูสามชั้น 300 กรัม
ซีอิ้วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊ป 5 ช้อนโต๊ะ
ผงพะโล้ 1 ช้อนชา
กระเทียม 3 กลีบ
พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำเปล่า 3 ถ้วย
ไข่ไก่ 3 ฟอง
เต้าหู้ทอด 1 ห่อ
ซีอิ้วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำอาหารเมนูไข่คลิก


แหนมผัดไข่ทรงเครื่อง

ส่วนผสมเมนูไขแหนม 1 แท่ง
น้ำมันหอย 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
หัวหอมใหญ่ ½   หัว
มะเขือเทศ 2 ลูก
ผักชี 2 ต้น น้ำมันสำหรับผัด 1 ถ้วย

ไข่ไก่ 4 ฟองซีอิ้วขาว 2 ช้อนชา
วิธีทำอาหารเมนูไข่คลิก

เมนูไข่ตุ๋นไข่เค็ม



ส่วนผสมเมนูไข่ตุ๋น

ไข่ไก่หรือไข่เป็ด 2 ฟอง
ไข่เค็มแดง 1-2 ฟอง
กุ้งแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ
หมูสับ 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 1 ถ้วย
ตังฉ่าย 1/2 ช้อนชา
ผักชีเด็ดใบ 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำอาหารเมนูไข่ตุ๋นคลิก

เมนูไข่ยัดไส้



ส่วนผสมเมนูไข่
หมูสับ 150 กรัม
ไข่ไก่ 2  ฟอง
หัวหอมใหญ่หั่นเต๋า ½ ถ้วย
แครอทหั่นเต๋า ½ ถ้วย
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
มะเขือเทศ 1 ลูก
ต้นหอม 1 ต้น
น้ำมันสำหรับผัด 2 ช้อนโต๊ะ
ผักชี 1 ต้น น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำอาหารเมนูไข่คลิก
เมนูไข่ตุ๋นปูอัด

ส่วนผสมเมนูไข่ตุ๋นปูอัดไข่ไก่(เบอร์ 1) 3 ฟอง
น้ำเปล่า
ปูอัด 3-4 แท่ง(หั่นแทยง)
แครอทหั่นลูกเต๋าเล็ก 2 ช้อนโต๊ะ
หั่นแท่งเล็กน้อย
ต้นหอมซอย เล็กน้อย
ซิอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 2 ช้อนชา
เกลือเล็กน้อย

วิธีทำอาหารเมนูไข่ตุ๋นคลิก

เมนูไข่เจียว


ส่วนผสมเมนูไข่เจียว
ไข่ 3 ฟองน้ำปลาและน้ำตาลเล็กน้อยสำหรับปรุงรสน้ำมันพืช 2 ช้อนชา
ซอสหอยนางรมตราแม็กกี้
หมูสับ
วิธีทำอาหารเมนูไข่เจียวคลิก
เมนูไข่เจียวกรอบ

ส่วนผสมเมนูไข่เจียวกรอบ

ไข่ไก่ 1-2 ฟอง
แป้งโกกิผสมน้ำเล็กน้อย
ผงฟู 1/2 ช้อนชา
น้ำปลาและน้ำตาลเล็กน้อยสำหรับปรุงรส
น้ำมันสำหรับทอด
วิธีทำอาหารเมนูไข่เจียวกรอบคลิก

เมนูไข่เจียวฟ


ส่วนผสมเมนูไข่เจียวฟู

ไข่ไก่ 1-2 ฟอง
แป้งโกกิผสมน้ำเล็กน้อย
ผงฟู 1/2 ช้อนชา
น้ำปลาและน้ำตาลเล็กน้อยสำหรับปรุงรส
น้ำมันสำหรับทอด
วิธีทำอาหารเมนูไข่เจียวฟูคลิก
เมนูไข่ม้วน


ส่วนผสมเมนูไข่ม้วน
ไข่ 3 ฟอง
น้ำตาล 1 ช้อนชา
น้ำซุป 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสถั่วเหลือง 2 ช้อนชา
น้ำมันพืช 2
ช้อนชา

การทําปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมัก(Composting)


           การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์  จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย   วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ  2. แบบไม่ใช้อากศ

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน   2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ   ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น   ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์   และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)

          การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน   และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า   ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว   ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มีความดีน

         การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน   ช่วยเพื่มโพรงอากาศ   ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น   และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน   ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น   และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล   และธาตุไนโตรเจน  โพแทสเซียม   และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี้

การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(Aerrobic Compost)

         การทำปุ๋ยหมักเป็นการเลียนแบบระบบย่อยสลายที่เกิดขึ้นช้า ๆ ตามธรรมชาติในผืนป่าซึ่งมีอินทรีย์สารแตกต่างกันหลายร้อยชนิดรวมทั้งจุลินทรีย์ รา หนอน และแมลง แต่เราสามารถเร่งการย่อยสลายนี้ให้เร็วขึ้นได้ด้วยการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุด   ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการทำปุ๋ยหมักคือ อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ และวัตถุอินทรีย์   วัตถุอินทรีย์เกือบทั้งหมดใช้ทำปุ๋ยหมักได้   ส่วนผสมของวัตถุอินทรีย์ที่ดีสำหรับการทำปุ๋ยหมักจะต้องประกอบด้วยอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อระหว่างวัตถุอินทรีย์ที่มีคาร์บอนมาก(carbon-rich materrials) หรือเรียกว่า วัตถุสีน้ำตามได้แก่ (browns) และวัตถุอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนมาก (notrogan-rich materials) ที่เรียกว่า วัตถุสีเขียว (greens) วัตถุสีน้ำตาลได้แก่ ใบไม้แห้ง ฟางข้าว เศษไม้ เป็นต้น ส่วนวัตถุสีเขียวได้แก่ เศษหญ้า เศษพืชผักจากครัว เป็นต้น อัตราส่วนผสมที่ดีจะทำให้การทำปุ๋ยหมักดสร็จเร็วและไม่มีกลิ่นเหม็น   ถ้ามีส่วนของคาร์บอนมากเกินไปจะทให้ย่อยสลายช้ามาก   และถ้ามีไนโตรเจนมากปะทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   คาร์บอนจะเป็นตัวให้พลังงานแก่จุลินทรีย์   ส่วนไนโตรเจนจะช่วยสังเคราะห์โปรตีน   การผสมวัตถุอินทรีย์ที่แตกต่างกันหรือใช้อัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันจะทำให้อัตราย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่สามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก
<> <>
ชนิด ประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N)
รายละเอียด
สาหร่ายทะเลมอสทะเลสาบแหล่งสารอาหารที่ดี
เครื่องดื่ม น้ำล้างในครัวเป็นกลางใช้ให้ความชื้นแก่กองปุ๋ย
กระดาษแข็งCตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนใช้ ถ้ามีมากควรนำไปรีไซเคิล
กาแฟบดและที่กรอง Nหนอนชอบ
ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพดCตัดเป็นช้นเล็กๆ
ผ้าสำลี  Cทำให้ชื้น
เปลือกไข่Nบดให้ละเอียด
เส้นผม Nกระจายอย่าให้จับตัวเป็นก้อน
มูลสัตว์กินพืช Nเป็นแห่งไนโตรเจน
หนังสือพิมพ์ Cอย่าใช้กระดาษมันหน้าสี ถ้ามีกมากให้นำไปรีไซเคิล
ใบโอ๊ก  Cตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นกรด
ขี้เลื่อย เศษไม้ (ที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี)Cอย่าใช้มาก
ใบสนและผลของต้นสน Cอย่าใช้มาก ย่อยสลายช้า เป็นกรด

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ต้องใช้อย่างระวัง
<> <>
ชนิดของวัตถุ  ประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N)  
รายละเอียด
ขี้เถ้าจากไม้เป็นกลางใช้ในปริมาณที่พอเหมาเท่านั้น
ขี้นกNมีเมล็ดวัชพืชและเชื้อโรค
ต้นไม้ที่เป็นโรคตายNอย่าใช้ปุ๋ยหมักใกล้กับต้นไม้ชนิดเดียวกับที่เป็นโรคตาย
นม ชีส โยเกิร์ต  เป็นกลางจะดึงดูดสัตว์เข้ามาในกองปุ๋ยหมัก
วัชพืช Nทำให้แห้งก่อนใช้
หญ้าNต้องแน่ใจว่ากองปุ๋ยหมักร้อนพอที่จะหยุดการเจริญเติบโตของหญ้า

ตารางวัตถุอินทรีย์ที่ห้ามใช้
<> <>
ชนิดของวัตถุประเภทคาร์บอน
(C)/ไนโตรเจน(N) 
  
รายละเอียด
ขี้เถ้าจากถ่านหินหรือถ่านโค้ก-อาจมีวัสดุที่ไม่ดีต่อพืช
ขี้หมา ขี้แมว -อาจมีเชื้อโรค
เศษปลา-ดึงดูดพวกหนู ทำให้กองปุ๋ยหมักมีกลิ่นเหม็น
มะนาว -สามารถหยุดกระบวนการหมักปุ๋ย
เนื้อ ไขมัน จารบี น้ำมัน กระดูก -หลีกเลี่ยง
กระดาษมันจากวารสาร-หลีกเลี่ย

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมักให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

         1.   อุณหภูมิ : อุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักมีผลโดยตรงกับกิจกรรมย่อยสลายทางชีวภาพของจุลทรีย์   ยิ่งอัตราการเผาผลาญอาหาร (metabolic rate) ของจุลินทรีย์มากขึ้น (เจริญเติบโตมากขึ้น) อุณหภูมิภายในระบบหมักปุ๋ยก็จะสูงขึ้นในทางกลับกันถ้าอัตราการเผาผลาญอาหารลดลง  อุณหภูมิของระบบก็ลดลง จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายวัตถุอินทรีย์และก่อให้เกิดความร้อนในกองปุ๋ยหมักมี 2 ประเภท คือ 1. แบคมีเรียชนิดเมโซฟิลิก (mesophilic bacteria) ซึ่งจะมีชีวิตเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ที่อุณหภูมิระหว่าง 10^0C-45^0C (50^0F-113^0F) และ 2. แบคทีเรียชนิดเทอร์โมฟิลิก(thermophilic bacteria) ซึ่งเจริญเติบโตดีที่อุณหภูมิระหว่าง 45^0C-70^0C (113^0F-158^0F) การรักษาอุณหภูมิของระบบไว้เกินกว่า 55^0C (130^0F) เป็นเวลา 3-4 วัน   จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้   ถ้าอุณหภูมิของระบบสูงถึง 69^0C (155^0F) การย่อยสลายจะเร็วขึ้นเป็นสองเท่าของที่อุณหภูมิ  55^0C ถ้าอุณหภูมิเกิน 69^0C ประชากรของจุลินทรีย์จะทำลายบางส่วน   ทำให้อุณหภูมิของระบบลดลง   อุณหภูมิของระบบจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อประชากรของจุลินทรีย์เพอ่มขึ้น   ปริมาณความชื้น   ออกซิเจนที่มีอยู่   และกิจกรรมของจุลินทรีย์มีอิทธิพลของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น   เมื่อมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะเพิ่มขึ้นและควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ จนกระทั่งอุณหภูมิถึงจุดสูงสุดและเริ่มลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าถึงทั่วกองปุ๋ยหมัก   อุณหภูมิของกองปุ๋ยหมักจะกลับสูงขึ้นอีกครั้ง   ทำเช่นนี้จนกว่าอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงแสดงว่าการทำปุ๋ยหมักเสร็จสิ้นสมบรูณ์ ขนาดของกองปุ๋ยหมักก็มีผลต่อุณหภูมิสูงสุดท่ะทำได้  โดยทั่วไปสำหรับกองปุ๋ยหมักที่เปิดโล่งควรมีขนาดของกองปุ๋ยหมักไม่น้อยกว่า 3 ฟุต x 3 ฟุต x 3 ฟุต

         2.   การเติมอากาศ (aeration) : ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจุลินทรีย์เพื่อใช้ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   การย่อยสลายของอินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะเป็นกระบวนการย่อยสลายที่ช้าแลพทำให้เกิดกลิ่นเหม็น   ดังนั้นจึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเป็นระยะเพื่อให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ   ซึ่งจะช่วยเร่งกระบวนการหมักปุ๋ยให้เร็วขึ้น   กองปุ๋ยหมักที่ไม่ได้กลับ   จะใช้เวลาย่อยสลสายนานกว่า 3-4 เท่า   การกลับกองปุ๋ยหมักจะทำให้อุณหภูมิสูงมากกว่า  ซึ่งจะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชและโรคพืชได้   กองปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นควรมีช่องว่างอากาศประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์   เพื่อให้สภาวะหารหมักที่ดีที่สุดเกิดขึ้น   และควรรักษาระดับออกซิเจนให้เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ทั่งทั้งกองปุ๋ยหมัก   โดยทั่วไปรับออกซิเจนในกองปุ๋ยหมักจะอยู่ในช่วง 6-16 เปอร์เซ็นต์และ 20 เปอร์เซ็นต์ รอบผิวกองปุ๋ยหมัก   ถ้าระดับออกซิเจนต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ การย่อยสลายจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไม่ใช้ออกซิเจน   ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นตามมา   ดังนั้นออกซิเจนยิ่งมาก   การย่อสลายยิ่งเกิดมาก

         3.   ความชื้น (moisture) : ความชื้นที่เพียงพอมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์   กองปุ๋ยหมักควรมีความชื้นที่เหมาะสมที 45 เปอร์เซ็นต์   ถ้ากองปุ๋ยหมักแห้งเกินไปการย่อยสลายจะไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากจุลินทรีย์ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีน้ำมากเกินไปการย่อยสลายการใช้อากาศอยู่ระหว่าง 40-70 เปอร์เซ็นต์   การทดสอบความชื้นที่เหมาะสมในกองปุ๋ย   สามารถทำได้โดยใช้มือกำวัตถุอินทรีย์ในกองปุ๋ยแล้วบีบ   จะมีหยดน้ำเพีย 1-2 หยดเท่านั้น   หรือมีความรู้สึกชื้นเหมือนฟองน้ำที่บีบน้ำออกแล้ว

         4.   ขนาดวัตถุอินทรีย์ (particle size) : ขนาดวัตถุอินทรีย์ยิ่งเล็กจะทำให้กระบวนการย่อยสลายยิ่งเร็วขึ้น   เนื่องจากพื้นที่ให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายมากขึ้น   บางครั้งวัตถุดิบมีความหนาแน่นมากหรือมีความชื้นมากเช่นเศษหญ้าที่ตัดจากสนาม   ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยหมักได้  จึงควรผสมด้วยวัตถุที่เบาแต่มีปริมาณมากเช่น ฟางข้าว ใบไม้แห้ง กระดาษ เพื่อให้อากาศไหลหมุนเวียนได้ถูกต้อง   หรือจะผสมวัตถุที่มีขนาดต่างกันและมีเนื้อต่างกันก็ได้   ขนาดของวัตถุอินทรีย์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 2 นิ้ว แต่บางครั้งขนาดวัตถุอินทรีย์ที่ใหญ่กว่านี้ก็จำเป็นต้องใช้บ้างเพื่อช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น

         5.   การกลับกอง (turning) : ในระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ย   จุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญวัตถุอินทรีย์   ขณะที่ออกวิเจนถูกใช้หมดกระบวนการหมักปุ๋ยจะช้างลงและอุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักลดลง   จึงควรกลับกองปุ๋ยหมักเพื่อให้อากาศหมุนเวียนในกองปุ๋ยหมัก   เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กลับจุลิทรีย์   และเป็นการกลับวัสดุที่อยู่ด้านนอกเข้าข้างใน   ซึ่งช่วยในการย่อยสลายเร็วขึ้น  ระยะเวลาในการกลับกอง    สังเกตได้จากเมื่ออุณหภูมิในกองปุ๋ยหมักขึ้นสูงสุดและเริ่มลดลงแสดงว่าได้เวลาในการกลับกองเพื่อให้อากาศถ่ายเท

         6.   อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (carbon to nitrogen ratio) : จุลินทรีย์ใช้คาร์บอนสำหรับพลังงานและไปนโตรเจนสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน   จุลินทรีย์ต้องการใช้คาร์บอน 30 ส่วนต่อไนโตรเจน 1 ส่วน (C:N=30:1โดยน้ำหมักแห้ง)   ในการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์   อัตราส่วนนี้จะช่วยในการควบคุมความเร็วในการย่อยจุลินทรีย์   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงมาก (มีคาร์บอนมาก) การย่อยสลายจะช้า   ถ้ากองปุ๋ยหมักมีส่วนผสมที่มีคาร์บอนต่อไนโตรเจนต่ำมาก (ไนโตรเจนสูง) จะเกิดการสูญเสียไนโตรเจนในรูปแบบของแอมโมเนียสู่บรรยากาศและจะเกิดกลิ่นเหม็น   วัตถุอินทรีย์ส่วนมากไม่ได้มีอัตราส่วน C:N = 30:1 จึงต้องทำการผสมวัตถุอินทรีย์เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ถูกต้องคือใกล้เคียงเช่น   การผสมมูลวัวที่มี C:N = 20:1 จำนวน 2 ถุง เข้ากับลำต้นข้าวโพดที่มี C:N =60:1 จำนวน 1 ถุง จะได้กองปุ๋ยหมักที่มี C:N =(20:1+10:1+60:1)/3=33:1 ตารางข้างล่างแสดงค่า C:N ของวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่า C:N ไม่เกิน 20:1 เพื่อป้องกันการดึงไนโตรเจนจากดินเมื่อนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

ตารางแสดงค่าอัตราส่วน C:N ของวัตถุอินทรีย์ทั่วไป
<> <>
  
วัตถุอินทรีย์อัตราส่วน C:N
เศษผัก12-20:1
เศษอาหาร    18:1
พืชตะกูลถั่ว 13:1
มูลวัว    20:1
กากแอปเปิ้ล 21:1
ใบไม้    40-80:1
ฟางข้าวโพด  60:1
ฟางข้าวสาลี 74:1
กระดาษ 80:1
ขี้เลื่อย 150-200:1
เศษหญ้า 100-150:1
กาแฟบด  12-25:1
เปลือกไม้ 20:1
ขยะผลไม้ 100-130:1
มูลสัตว์ปีกสด10:1
มูลม้า 25:1
หนังสือพิมพ์ 50-200:1
ใบสน 60-110:1
มูลที่เน่าเปื่อย 20:1

วิธีทำปุ๋ยหมัก (Composting Method)

          การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้

          1.   การทำปุ๋ยหมักแบบร้อน(hot composting) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลิตฮิวมัสที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยทำหลายเมล็ดวัชพืช   ตัวอ่อนแมลงวันและโรคพืช   การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) หรือแบบกองบนลาน (windrow) จะต้องอาศัยการจัดการในระดับสูง   ส่วนแบบ in-vessel จะใช้การจัดการน้อยกว่า

          2.   การทำปุ๋ยหมักแบบเย็น (cold composting) เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการเพิ่มอินทรีย์วัตถุที่โคนต้นไม้  แปลงสวนเล็กๆ และพื้นที่ที่มีการกัดกร่อน เวลาในการทำปุ๋ยหมักถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อม   ซึ่งอาจจะใช้เวลา 2 ปีหรือมากกว่า

          3.   การทำปุ๋ยหมักแบบผืนแผ่น (sheet  composting) เป็นการนำอินทรีย์วัตถุมาโปรยกระจายตามผิวหน้าดินที่ราบเรียบและปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ   เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้ย่อยสลายจะซึมผ่านลงในดิน   วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผืนดินที่ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์   ภูมิประเทศข้างทางหรือใช้ควบคุมการกัดกร่อน  วิธีนี้ไม่สามารถกำจัดเมล็ดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืช   ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ซากพืชและมูลสัตว์ ระยะเวลาการย่อยสลายถูกควบคุมด้วยสภาวะสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจจะใช้เวลานาน

          4.   การทำปุ๋ยหมักแบสนามเพาะ (trench composting) เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายเพียงแต่ขุดหลุมลึก 6-8 นิ้ว   แล้วใส่วัตถุอินทรีย์ลงไปให้หนา 3-4 นิ้ว แล้วกลบด้วยดิน   รอประมาณ 2-3 อาทิตย์   ก็สามารถปลูกต้นไม้ตรงหลุมได้เลยวิธีนี้ไม่สามารถทำลายเม็ลดวัชพืช ตัวอ่อนแมลงวัน และโรคพืชได้ กระบวนการย่อยสลายค่อนข้างช้า

ขันตอนการทำปุ๋ยหมัก

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้ถัง (bin) และแบบกองบนลาน(windrow) จะวางวัตถุดิบเป็นชั้นๆ โดนใช้หลักการสมดุลระหว่างวัตถุที่มีคาร์บอนสูง(ชื้น) และคาร์บอนต่ำ(แห้ง)และมีขั้นตอนการทำดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 ใส่วัตถุหยาบลงที่ก้นถังหรือบนพื้นดินให้หนา 4-6 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 2 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนต่ำลงให้หนา 3-4 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 3 เติมวัตถุที่มีคาร์บอนสูงให้หนา 4-6 นิ้ว

          ขั้นตอนที่ 4 เติมดินทำสวนหรือฮิวมัสหนา 1 นิ้ว

         ขั้นตอนที่ 5 ผสมให้เข้ากัน

          ขั้นตอนที่ 6 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 จนเต็มถังหรือสูงไม่เกิน 4 ฟุต แล้วปกคลุมด้วยวัตถุแห้ง

การเติมวัตถุดิบระหว่างการหมักปุ๋ย


          การเติมวัตถุดิบใหม่ระหว่างการหมักปุ๋ยจะทำในช่วงเวลาที่มีการกลับกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าผสมโดยทั่วไปการเติมวัตถุดิบที่มีความชื้นเข้าไป  จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลาย  แต่ถ้าเติมวัตถุดิบที่แห้งไปกระบวนการย่อยสลายจะช้าลง


การทำถังหมักปุ๋ยสวนหลังบ้าน

          การทำถังหมักปุ๋ยสำหรับสวนหลังบ้านสามารถทำได้หลายวิธีโดยแบ่งตามขนาดที่ต้องการใช้ปุ๋ยหมัก วิธีแรกเหมาะสำหรับสวนขนาดเล็กโดยนำถังขนาด 200 ลิตร มาเจาะรูด้านข้างถังขนาด 0.5 นิ้ว 6-9 แถวดังรูปที่ 1 แล้ววางถังบนอิฐบล็อกเพื่อให้อากาศหมุนเวียนก้นถัง   เติมวัตถุอินทรีย์ลงไปประมาณ 3 ส่วน 4 ของถังแล้วเติมปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง (ประมาณ 30%N)1/4 ถ้วยลงไปพร้อมเติมน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะแต่ไม่ถึงกับเปียกโชก   ทุกๆ 2-3 วัน   ให้กลิ้งถังกับพื้นรอบสวนเพื่อให้มีการผสมและระบายอากาศภายในถัง   เมื่อกลิ้งถังเสร็จแล้วสามารถเปิดฝาถังเพื่อให้อากาศซึมผ่านเข้าถัง   การทำวิธีนี้จะใช้เวลาในการย่อยสลาย 2-4 เดือน


รูปที่ 1[5]

          วิธีที่สองใช้ถังกลมแบบหมุนได้   ตามรูปที่ 2 การหมักทำโดยการเติมวัตถุสีเขียว และสีน้ำตาลเข้าถังประมาณ ¾ ส่วนของถัง   ผสมให้เข้ากันและทำให้ชื้นพอเหมาะ   หมุนถังหนึ่งครั้งทุกวันเพื่อให้อากศหมุนเวียนและคลุกเคล้าส่วนผสมให้ทั่ว   วิธีนี้สามารถหมักปุ๋ยได้เสร็จภายใน 3 สัปดาห์   ไม่ควีเติมวัสดุจนเต็มถังเพราะจะไม่สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันได้และการระบายอากาศไม่ดี   การหมักแบบนี้ทำได้ทีละครั้ง (batch size)



รูปที่ 2[9]

          สำหรับสวนที่มีขนาดใหญ่   การสร้างถังหมักปุ๋ยอย่างง่ายสามารถทำได้โดยการใช้ลวดตาข่ายเล็ก ๆ มาล้อมเป็นวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 ฟุต   และสูงอย่างน้อย 4 ฟุต พร้อมกับมีที่เกี่ยวติกกันดังรูปที่ 3 ควรจะมีเสาปักตรงกลางถังก่อนใส่วตถุอินทรีย์เพื่อรักษารูปร่างของกองปุ๋ยหมักและช่วยอำนวยความสะดวกในการเติมน้ำ   การกลับกองปุ๋ยหมักสามารถทำได้ง่ายดายโดยการแกะลวดตาข่ายออกแล้วย้ายไปตั้งที่ใหม่ข้างๆ จากนั้นตักกองปุ๋ยหมักใส่กลับเข้าไป

 


รูปที่ 3[5]

          อีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำปุ๋ยหมักอย่างเร็วและมีโครงสร้างที่ทนทานคือการสร้างถังสี่เหลี่ยมแบบ 3 ช่อง (three-chambered bin) ดังรูปที่ 4 ซึ่งสามารถทำปุ๋ยหมักได้มากและมีการหมุนเวียนอากาศที่ดี   โดยแต่ละช่องจะทำการย่อยสลายวัสดุในช่วงเวลาที่ต่างกัน   การทำปุ๋ยหมักเริ่มจากการใส่วัตถุดิบลงไปในช่องแรกและปล่อยให้ย่อยสลาย (อุณหภูมิสูงขึ้น)เป็นเวลา 3-5 วัน จากนั้นตักไปใส่ในช่องที่สองและปล่อยทิ้งไว้ 4-7 วัน (ในส่วนช่องแรกก็เริ่มใส่วัตถุดิบลงไปใหม่) แล้วตักใส่ในช่องที่สามต่อไปซึ่งการหมักปุ๋ยใกล้จะเสร็จสมบรูณ์   การทำวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

 

รูปที่ 4[5]

          การหาทำเลสำหรับการตั้งปุ๋ยหมัก   ไม่ควรจะตั้งใกล้บ่อน้ำหรือที่ลาดชันไปสู่แหล่งน้ำบนดินเช่น ธารน้ำหรือสระน้ำควรตั้งในที่ไม่มีลมและโดนแสงแดดบางส่วนเพื่อช่วยให้ความร้อนแก่กองปุ๋ยหมัก   การตั้งถังหมักปุ๋ยใกล้ต้นไม้อาจทำให้รากต้นไม้ชอนไชเข้าถังได้   ทำให้ลำบากในการตักได้   ปริมาตรของปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้วจะลดลงเหลือ 30-40 เปอร์เซ็นต์ปริมาตรเริ่มต้น

ปัญหาที่เกิดระหว่างการทำปุ๋ยหมัก

          ปัญหาที่สามารถกเกิดขึ้นได้ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยได้แก่   การเกิดกลิ่นเหม็น แมลงวันและสัตว์รบกวน กองปุ๋ยไม่ร้อน ปัญหาเหล่านี้เกิดจากหลายสาเหตุและมีวิธีแก้ไขดังนี้

         กลิ่นเหม็นเกิดจากการหมักแบบใช้อากาศเปลี่ยนเป้นการหมักแบบไม่ใช้อากาศเนื่องจากขาดออกซิเจนในกองปุ๋ยซึ่งมีสาเหตุจากกองปุ๋ยมีความชื้นมากเกนไปและอัดตัวกันแน่น  ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปได้   การแก้ไขทำได้โดยการกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศและเติมวัตถุสีน้ำตาลประเภทฟางข้าว กิ่งไม้แห้ง เพื่อลดความแน่นของกองปุ๋ยและให้อากาศผ่านเข้าไปในกองปุ๋ยได้

          แมลงวันและสัตว์ เช่น หนู รบกวน มีสาเหตุมาจากการใส่เศษอาหารลงในกองปุ๋ย   ซึ่งเศษอาหารเหล่านี้ล่อแมลงวันและหนูให้เข้ามา   วิธีแก้ปัญหาคือให้ฝังเศษอาหารลงในกองปุ๋ยและกลบด้วยดินหรือใบไม้แห้ง  หรือทำระบบปิดป้องกันแมลงวันและหนู

          กองปุ๋ยไม่ร้อน มีสาเหตุได้แก่ 1. มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ 2 มีออกซิเจนไม่เพียงพอ 3. ความชื้นไม่เพียงพอ และ 4. การหมักเสร็จสมบรูณ์แล้ว   สาเหตุแรกแก้ไขได้โดยการเติมวัตถุสีเขียวซึ่งมีไนโตรเจนสูง เช่น เศษหญ้าสด เศษอาหาร   สาเหตุที่สองแก้ไขโดยกลับกองปุ๋ยเพื่อเติมอากาศ ส่วนสาเหตุที่สามให้กลับกองและเติมนในกองปุ๋ยชื้น

มาตรฐานปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์ในประเทศไทย

           ปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุมีปริมาณธาตุอาหารหลักไม่สมบรูณ์ครบถ้วนที่จะเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์   แต่ประโยชน์ของปุ๋ยหมักในด้านอื่นมีมากมายเช่น ปุ๋ยหมักที่อยู่ในรูปของฮิวมัสช่วยปรับปรุงสภาพของดินให้ดีขึ้น  ช่วยอุ้มน้ำได้มากช่วยป้องกันความแห้งแล้ง   ป้องกันการสึกกร่อนของหน้าดิน   ช่วยกัดเก็บธาตุต่างๆ ในดิน เช่น โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง ช่วยทำให้สารพิษในดินเป็นกลาง ช่วยให้ต้นไม้ดูดซึมวิตามินและออกซิเจนดีขึ้น

          ปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วจะต้องมีค่าของธาตุต่างๆ เป็นไปได้ตามมาตรฐานของปุ๋ยหมัก   ถ้าปุ๋ยหมักไม่ได้มาตรฐานนี้อาจจะเป็นพิษต่อต้นไม้และสิ่งแวดล้อมได้   สำหรับมาตรฐานของปุ๋ยหมักในประเทศเป็นไปตามประกาศของกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548 ดังนี้
<>
ลำดับที่คุณลักษณะเกณฑ์กำหนด
1ขนาดของปุ๋ยไม่เกิน 12.5x12.5 มิลลิเมตร
2ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
3ปริมาณหินและกรวด    ขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
4พลาสติก แก้ว วัสดุมีคม และโลหะอื่นๆ  ต้องไม่มี
5ปริมาณอินทรีย์วัตถุ ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
6ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)    5.5-8.5
7อัตราค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N)  ไม่เกิน 20:1
8ค่าการนำไฟฟ้า (EC:Electrical Conductivity)   ไม่เกิน 6 เดซิซีเมน/เมตร
9ปริมาณธาตุอาหารหลัก

-ไนโตรเจน(total N) ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก-ฟอสฟอรัส( total P_2O_5) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก
-โพแทสเซียม (total K_2O) ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก

10การย่อยสลายที่สมบรูณ์    มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
11สารหนู(Arsenic)แคดเมียม(Cadmium)
โครเมียม(Chromium)
ทองแดง(Copper)
ตะกั่ว(Lead)
ปรอท(Mercury)

ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

การทําเกี้ยวช่า

เวลาไปตามโซนฟู้ดคอร์ส ในห้างจะเห็นเมนูเกี๊ยวซ่า ในร้านอาหารญี่ปุ่น ราคาไม่ค่อยน่ารักเอาซะเลย เบ๊ก็มานั่งคิด มันจะแพงอะไรนักหนา กะแค่แป้งห่อหมูห่อผัก บางทีเห็นมีแต่ผัก ตกชิ้นละตั้ง 5-6 บาท แพงจัง เลยมานั่งบ่นๆ กับพี่สาว พี่สาวก็ว่านักเรียนของเค้าบอกว่า แป้งเกี๊ยวซ่าอ่ะมีขาย ไปซื้อมาทำเองดิ นักเรียนเค้ายังทำเองเลย เออ วุ้ย มีขายก็เจ๋งดิ ว่าแต่ซื้อที่ไหนมาทำล่ะเนี่ย นักเรียนพี่สาวเค้าชอปกันแต่ฟูจิซุปเปอร์ ไอ้เรารึเดินแต่บิ๊กซี โลตัส แมคโคร แล้วมันจะไปหาไอ้แป้งเกี๊ยวนี่ที่ไหนหว่า ไม่เคยเห็นมีขายเลย  และแล้วสวรรค์ก็ดลใจอะไรสักอย่าง ให้ลงป้ายรถเมล์เลยป้าย เพราะจะลงไปแมคโคร แต่เลยมาฟู้ดแลนด์(ห่างกัน 2 ป้าย) เลยเดินฟู้ดแลนด์ซะหน่อย ก็เลยได้เจอแป้งทำเกี๊ยวซ่า (ที่ฟู้ดแลนด์ของเพียบเลย มิน่าฝรั่งชอบเดินชอปที่นี่)
เกี๊ยวซ่าครั้งนี้ที่มาเสนอให้ชมนี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ทำค่ะ ครั้งแรกไม่กล้าลงกลัวไม่อร่อย แต่พี่สาวคอนเฟิร์มแล้วว่า อร่อย เลยกล้าเอาลง เผื่อมีคนเอาไปทำตามค่ะ
G1.jpg picture by Kagetsu_ARI
วัตถุดิบของไส้เกี๊ยวซ่า ได้แก่
1.หมูบด
2.ผักกะหล่ำปลีซอย
3.กระเทียบสับ
4.พริกไทย ซอสถั่วเหลือง
Picture178.jpg picture by Kagetsu_ARI
นำทุกอย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยพริกไทย ซอสถั่วเหลือง แค่นี้เองค่ะ
g3.jpg picture by Kagetsu_ARI
นี่คือแผ่นแป้งเกี๊ยวซ่าค่ะ ราคา 17 บาท ไม่รู้ว่ามีกี่แผ่นแต่ทำได้เยอะทีเดียวค่ะ (ทำรอบนี้ ใช้ไม่หมด มันเยอะเกิน) แบ่งออกมาทำครึ่งเดียว
วิธีการห่อ ง่ายกว่าห่อกะหรี่ปั๊บอีกค่ะ
g2.jpg picture by Kagetsu_ARI
1 . หยิบแผ่นแป้งออกมาแผ่ ใช้ด้านที่ไม่มีแป้งติดที่แผ่นเกี๊ยว
2. วางไส้ที่ทำไว้ลงไป
3. พับแป้งห่อไส้ บีบที่ปลายแผ่นเกี๊ยว แค่นี้เอง ไม่ต้องจับจีบแต่อย่างใด มันติดกันเองค่ะ แป้งมันเหนียวๆ (ถ้ามันไม่ติดจริงๆ ให้แตะน้ำนิดหน่อย แล้วบีบขอบเกี๊ยวค่ะ แป้งก็จะติดกัน
4.ทำแล้ว เอามาวางเรียงเตรียมทอด (เบ๊กลัวแป้งมันติดกัน เลยเอาแป้งโรยไว้หน่อยหนึ่ง)
 วิธีทำ แค่นำเกี๊ยวที่ห่อไส้ ลงไปทอดน้ำมันร้อนๆ แต่ไฟไม่ต้องแรง กลางๆ อ่อนๆ เบ๊ชอบแบบกรอบทั่วทั้งอัน เลยใช้น้ำมันเยอะหน่อย ที่เค้าขายจะแค่จี่ๆ แป้ง (นักเรียนของพี่สาวก็ทอดแบบน้ำมันเยอะ เพราะชอบแป้งกรอบๆ )
g4.jpg picture by Kagetsu_ARI
แค่นี้ก็ได้เกี๊ยวซ่า ทานเองที่บ้านไม่ต้องไปง้อที่ร้านแล้วค่ะ ทานแกล้มกับผักกะหล่ำปลีสด จิ้มโชยุ หรือกินแบบไม่ต้องจิ้มอะไรก็อร่อยค่ะ ลองไปทำทานดูกันนะคะ

การทําเทียนหอม

เทียนหอม เชิงเทียน


รวมลิงค์เพื่อนบ้าน





เพื่อนบ้านอีกมากคลิ๊กที่นี่

เต่า
กระต่าย
หมูนั่งถือเทียน
แกะ
แพะ
ฮิปโป
ช้าง(มีทั้งตัวผู้ ตัวเมีย)
หมู
ช้างนั่งถือเทียน
หมูนั่งถือเทียน 2
ยีราฟ
ลิง
 
งู
สุนัข
 
ท่านสามารถเลือกเชิงเทียนหอมเป็นตุ๊กตาสัตว์ดินเผาน่ารักๆได้หลากหลายแบบ ทั้ง เต่า ช้าง หมู แกะ ยีราฟ ฮิปโป ราคาปลีก 50 ส่ง 47 บาท

ใหม่! งานเชิงเทียนรูปแบบใหม่สำหรับใช้กับเทียนเล่ม เหมาะกับการจุดบนโต๊ะอาหาร โรงแรมรีสอร์ทฯลฯ จำหน่ายพร้อมโถแก้วกันลม ราคา ปลีก 100 บาท ส่ง 90 บาท
(ติดตามแบบอื่นๆได้เรื่อยๆครับ)
เต่าเชิงเทียนขนาดใหญ่(สูง13cm)
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ได้)
ช้างเชิงเทียนขนาดใหญ่(สูง17cm)
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ได้)
ช้างนั่งเชิงเทียนขนาดใหญ่(สูง14cm(วัดถึงหัว)
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ได้)
หมูชิงเทียนขนาดใหญ่(สูง13cm)
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ได้)
ลิงเชิงเทียนขนาดใหญ่(สูง13cm)
ตุ๊กตาเชิงเทียนเด็กชายหญิง
ตัวละ 100 บาท(พร้อมเทียน)



bd01
bd02
bd03
bd04
bd05
bd06
เชิงเทียนดินเผารูปตอไม้มีนกเกาะ ใช้เทียนหอมขนาดใหญ่ในการทำ สามารถเลือกแบบของเทียนได้ตามรูป จำหน่ายในราคาปลีก 65 บาท ส่ง 60 บาท
 


เชิงเทียนหอมของบ้านป่าตาลทั้งหมดใช้ตุ๊กตาดินเผาซึ่ง ปั้นด้วยมือล้วนๆทุกตัวซึ่งมีลักษณะยิ้มท่าทางแตกต่างกัน ไปในแต่ละตัว โดยจะไม่เหมือนเชิงเทียนตามท้องตลาดทั่วไปที่ส่วนมากเป็น เซรามิคหรือไม้ซึ่งจะใช้แม่พิมพ์ในการทำเหมือนๆกันทุกตัว ซึ่งงานจะออกมาไม่มีชีวิตชีวาและไม่มีเอกลักษณ์
การทำเทียนหอม
เทียนหอมมีหลายประเภท ได้แก่ เทียนหอมบล็อค เทียนหอมประดับชนิดลอยน้ำ
เทียนประดับที่บรรจุในภาชนะ เทียนรูปดอกไม้ และเทียนหอมประดิษฐ์
ประเภทดอกไม้สนาม ความหมายของคําที่ใช้ ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชน คำว่า เทียนหอม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ ที่ได้
จากการนําพาราฟิน และไขผึ้งมาหลอมละลายรวมกัน อาจเติมสีแล้วเติม น้ามันหอมระเหย นําไปปั้นด้วยมือ
หรือหล่ อแบบขึ้นรูป หรือกดจากพิมพ์ ให้ มีรูปทรงตามต้ องการอาจประกอบด้ วยวัสดุอื่นเพื่อให้
เกิดความสวยงาม เช่ น ดอกไม้ แห้ ง มีไส้ เทียนสําหรับจุดไฟ และมีกลิ่นหอมของน้ามันหอมระเหย
วิธีการทำเทียนหอม
วัสด
วัตถุดิบหลักที่สำคัญ ได้แก่ พาราฟิน โพลีเอสเตอร์ น้ำหอม ไส้เทียน และสีเคลือบดอก
โดยแหล่ง Supplier ที่สำคัญจะอยู่ในประเทศจีนและไต้หวัน
ขั้นตอนและกระบวนการผลิตเทียนหอม
สำหรับกระบวนการผลิตและขั้นตอนการผลิตสามารถจัดลำดับแผนกของการผลิตได้ดังนี้

1.พาราฟิน 1 กก.
2.บีแวกซ์ 1 ขีด
3.เทียนเหนียว 1 ขีด
4.สีเทียน หรือ สีน้ำมันผง
5.ใส้เทียน
6.หัวน้ำหอมกลิ่นที่ชอบ 15 cc
7.พิมพ์รูปต่างๆ
วิธีทำ เทียนหอม
นำพาราฟินใส่ภาชนะตั้งไฟละลายจากนั้นใส่บีแว็กซ์และเทียนลงไป พอละลายเข้ากันใส่สีเทียน
หรือสีน้ำมันผงให้สีอ่อนเข้มตามต้องการตักหยอดใส่พิมพ์เมื่อเทียนเริ่มแข็งตัว
ใส่ใส้เทียนที่เตรียมไว้
*วิธีทำใส้เทียนให้แข็ง ทำได้โดยนำฝ้ายดิบสำหรับทำใส้เทียนจุ่มลงในพาราฟิน ที่ต้มละลายแล้ว
จากนั้นดึงใส้เทียนให้ตึง พอแห้งจะได้ใส้เทียนเป็นเส้นตรง จากนั้นตัดตามยาวตามต้องการ